โดยปกติ โรคไข้เลือดออก จะเป็นโรคติดเชื้อที่มักพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝน และมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ เนื่องจากต้องการเลือดเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการวางไข่ ซึ่งการกัดและดูดกินเลือดนั้น หากเป็นการกัดผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกอยู่ก่อน แล้วจึงไปกัดคนอื่น ๆ ต่อไปก็จะก่อให้เกิดการแพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ และเป็นอันตรายอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเด็กที่ยังไม่มีภูมิต้านทานที่ดีพ
อย่างไรก็ดี
ด้วยการระบาดของโรคที่มักเกิดขึ้นในประเทศที่อยู่ในบริเวณเขตร้อน
เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เหมาะกับการขยายพันธุ์ ทั้งยังเริ่มพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศที่อยู่ในเขตหนาวเย็นหรือภูเขาสูงที่มีหิมะตกตลอดปีด้วย
ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มหันมาศึกษาและทำการวิจัยซึ่งพบความน่าวิตกกังวลว่า
“ภาวะโลกร้อน”
กำลังกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เพราะนอกจากยุงลายจะขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้ดีแล้ว
ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ยังเป็นปัจจัยเร่งให้วงจรชีวิตของยุงลายเติบโตเร็วขึ้น
ซึ่งจากเดิมกว่าที่ไข่จะกลายเป็นตัวยุงก็มักใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน แต่ปัจจุบันใช้เวลาเพียงไม่ถึงสัปดาห์ก็เจริญเติบโตกลายเป็นยุงที่สมบูรณ์
พร้อมที่จะแพร่พันธุ์ และเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้แล้ว

จากสภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ยังเป็นเหตุทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำที่สูงตามไปด้วย
จึงยิ่งทวีความรุนแรงของการระบาด เนื่องจากตรวจพบเชื้อเดงกีซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในยุงตัวผู้และในลูกน้ำ
ซึ่งโดยปกติจะพบในยุงตัวเมียที่กัดกินเลือดของคนเท่านั้น ที่สำคัญคือ อากาศร้อนยังมีส่วนทำให้ยุงลายมีอายุที่ยืนยาวขึ้น
จึงทำให้พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นตลอดทั้งปี และยังเริ่มมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในวัยรุ่น
และในผู้ใหญ่มากขึ้นอีกด้วย
ไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้ว
ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกแต่จะเป็นไข้เลือดออกที่มีสาเหตุมาจากยุงลายสายพันธุ์
เพราะยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาโดยเฉพาะ ทั้งยังมีความรุนแรงของโรคที่สูงถึงขั้นเสียชีวิต
หากได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ หากผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ได้แก่ เป็นเด็กทารกที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี เป็นโรคอ้วน หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
โรคปอด โรคหอบหืด มีภาวะโลหิตจาง หรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย
ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบมากคือ ภาวะสมองอักเสบ
ตับอักเสบ น้ำท่วมปอด และมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า การป้องกันไม่ให้เป็นโรคย่อมเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต
ดังนั้น นอกจากการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วยการใช้ยาทากันยุง สวมใส่เสื้อแขนยาว
กางเกงขายาว ติดมุ้งลวด หรือนอนในมุ้ง รวมทั้งกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยการฉีดพ่นสารเคมี
การเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งน้ำขังภายในบ้าน ในแจกัน อ่างน้ำ หรือภาชนะต่าง ๆ
รวมทั้งช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อน
ก็น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการป้องกันการระบาดของโรคที่อาจจะทวีความรุนแรงขึ้นได้ในอนาคต
<> <> <> <> <> <> <> <> <>
สนใจอุปกรณ์ป้องกันยุง : http://mosqkill.com/
คำถามที่พบบ่อย : https://www.facebook.com/groups/847639198622997/
ช่องทางการติดต่อ : Line id : apin.t
#ไข้เลือดออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น