วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออก แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อไม่ได้อยู่ใกล้หมอ



ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มักพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน สามารถเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นโรคเกิดที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ขึ้นสูงแบบฉับพลัน ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะแสดงอาการของโรคใน 3 ระยะ คือ

ระยะไข้: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยอยู่ราว 2-7 วัน ร่วมกับมีอาการหน้าและตาแดง
ระยะช็อก: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้ลดลง ตัวเย็น มีผื่นขึ้นตามตัว ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หากมีอาการรุนแรงมาก จะมีความดันของเลือดลดต่ำลง ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด
ระยะพักฟื้น: เป็นระยะภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาอาการในระยะช็อกอย่างทันท่วงที เป็นระยะฟื้นไข้หรือเริ่มมีอาการดีขึ้น และหายจากอาการในที่สุด

เนื่องจากไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาพยาบาลและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด เพราะในระยะแรกที่ปรากฏอาการ แพทย์อาจวินิจฉัยให้ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผู้ใกล้ชิดจึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธี ดังนี้

1. จัดให้ผู้ป่วยนอนพักในที่ที่มีอากาศถ่ายได้สะดวก แล้วทำการลดไข้โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำธรมดาหรือน้ำอุ่นทุก ๆ 15 นาที ร่วมกับทานยาพาราเซตามอล ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง ห้ามให้ผู้ป่วยทานยาลดไข้ชนิดอื่นเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี หากพบว่าผู้ป่วยมีการอาเจียนมากก็อาจพิจารณาให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนดอมเพอริโดน (Domperidone) โดยแบ่งให้ 3 เวลาแต่ควรให้ในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น และในรายที่ผู้ป่วยได้รับยากันชักจากแพทย์ ก็ให้ใช้ต่อไปตามที่แพทย์ระบุ

2. ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ๆ และย่อยง่าย รวมทั้งให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะระยะนี้ผู้ป่วยจะมีภาวะขาดน้ำ หากมีอาการเบื่ออาหาร ก็ให้เสริมด้วยการดื่มนมหรือน้ำผลไม้ แต่ถ้ามีอาการอาเจียนก็ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ โดยจิบทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปและเพื่อช่วยทำให้ไข้ลดลง
ยุงลาย

3. ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพราะหากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำจะเกิดเลือดออกตามจุดต่าง ๆ ของร่ายกาย และถ้าหากผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงหรือประมาณวันที่ 3 ภายหลังจากมีไข้ขึ้นสูงก็ต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ เพราะระยะนี้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ จึงควรสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการซึมมากขึ้น มีเลือดกำเดาออก อาเจียนมากกว่าเดิม ปวดท้อง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ไม่ดื่มน้ำและปัสสาวะนานเกิน 6 ชั่วโมง มีเหงื่อออกตามตัว ถ่ายเป็นเลือด กระสับกระส่ายหรือร้องกวนมากในกรณีที่เป็นเด็ก ก็ควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

4. อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนเข้าสู่ระยะพักฟื้น แต่ก็ยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติอยู่จึงควรระมัดระวังอย่าให้เกิดการกระทบกระแทกที่รุนแรง โดยเฝ้าดูแลต่อไปจนกว่าผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเรียนหรือทำงานได้ตามปกติ

จะเห็นได้ว่าการพยาบาลผู้ป่วยในช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ใกล้หมอนั้นถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญมากเพราะถ้าหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีก็ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
<> <> <> <> <> <> <> <> <>
วิดีโอน่าสนใจ : https://youtu.be/SOQaFUtQOW4
หากสนใจอุปกรณ์ป้องกันยุง : http://mosqkill.com/
FanPage : https://www.facebook.com/mosqkiller
คำถามที่พบบ่อย : https://www.facebook.com/groups/847639198622997/
ช่องทางการติดต่อ : Line id : apin.t 
#ไข้เลือดออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น